มาอ่านงบการเงินกัน

งบการเงิน

งบการเงินมีความมากเป็นเสมือนแผนที่ทางการเงินของกิจการ ซึ่งถ้าผู้ประกอบการไม่เข้าใจ หมายถึงว่าผู้ประกอบการจะไม่ทราบถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกิจการ และถ้าเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงิน และให้ ผู้สอบบัญชี รับรองงบ เพื่อให้ผู้ประกอบการ ยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากรในการชำระภาษีรายได้นิติบุคคลต่อไป
ซึ่งในบทความนี้แอดมิน “CPA เชียงใหม่” จะได้อธิบายวิธีการอ่านงบการเงินอย่างง่ายๆให้ฟัง

งบการเงินมีดังนี้

  1. งบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) Balance Sheet
  2. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ Income Statement / Profit & Loss Statement
  3. งบกระแสเงินสด Cash Flow
  1. งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล ใช้แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ จะจัดทำขึ้นทุกๆ วันสิ้นรอบระยะบัญชี เช่น ทุกไตรมาส ครึ่งปี หรือ 1 ปี ซึ่งภายในงบดุล จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกัน ดังนี้คือ
    • สินทรัพย์
    • หนี้สิ้นและส่วนของเจ้าของหรือทุน
      ซึ่งเป็นที่มาของสมการทางบัญชีคือ [ทรัพย์สิน = หนี้สิ้น + ทุน]

ถ้าเราอ่านดูเป็นส่วนๆ เช่นกิจการได้ซื้อรถขุดดินมา 10 ล้าน และกิจการมีทุนอยู่เพียง 5 ล้านส่วนที่เหลือก็คือการกู้ยืมหรือ หนี้สิน อีก 5 ล้าน นั่นเอง
ถ้าเราพบเห็นคนข้างบ้านเรามีบ้านหลังใหญ่ มีรถราคาแพงๆ ใส่แหวนเพชร ใส่นาฬิกาแพงๆ มีเครื่องประดับมีค่ามากมาย ก็ไม่ได้หมายความว่า
จะมั่นคงเสมอไป เพราะถ้าสินทรัพย์ที่ได้มาเกิดจากการกู้ยืม

  1. งบกำไรขาดทุน ใช้สำหรับแสดงผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กิจการส่วนใหญ่จะจัดทำการทุกเดือน เพื่อเป็นการวางแผนการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งภายในงบกำไรขาดทุน
    จะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ด้วยกันดังนี้คือ
    • รายได้
    • ต้นทุนและค่าใช้จ่าย
      รายได้ หักต้นุทนขายและค่าใช้จ่าย ส่วนที่เหลือ คือ กำไร หรือ ขาดทุนนั่นเอง ซึ่งวิธีการอ่านงบกำไรขาด เราจะต้อง พิจรณา ต่อว่าการการที่กิจการมีกำไร หรือ ขาดทุนเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งกิจการที่มีผลการดำเนินงานที่ดี กำไรที่เกิดขึ้นควรจะกำไรจากผลการดำเนินงาน ไม่ใช่ กำไรพิเศษที่เกิดขึ้นในงวดๆ นั่น เช่น เกิดจากการขาย สินทรัพย์ หรือ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นต้น
  1. งบกระแสเงินสด ใช้อธิบายที่มาของเงินได้มาจากแหล่งใดซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนคือ
    1. กิจกรรมการดำเนินงาน คือ กระแสเงินสด ที่เกิดจากการจำหน่าย หรือให้บริการของการดำเนินการ
    2. กิจกรรมการลงทุน คือ กระแสเงินสด ที่เกิดจากการได้มาหรือจำหน่ายสินทัพย์ หรือจากการลงทุนในแหล่งอื่นๆ
    3. กิจกรรมการจัดหาแหล่งทุน คือ กระแสเงินสด ที่มาจากแหล่งเงินกู้ยืม

ซึ่งจะเห็นว่าถ้า ผู้ประกอบการ ทำความเข้าใจงบการเงินในส่วนต่างๆจะทำให้ ทราบถึง ผลการดำเนินงานภายในกิจการ หรือถ้าเป็นนักลงทุนก็จะ
เห็นความสามารถในการทำกำไร เพื่อใช้ในการพิจรณาการลงทุนต่อไป