CPA และ TA ต่างกันอย่างไร? ผู้ประกอบการจะเลือกใช้บริการท่านใด แอดมิน “CPA เชียงใหม่” จะอธิบายให้ฟัง
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA : Certified Public Accountant เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร TA : Tax Audittor เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร
CPA (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต) | TA (ผู้สอบบัญชีภาษีอากร) | |
สิทธิในการปฏิบัติงาน | สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร | สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท) |
หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน | ปฏิบัติงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่ ปฏิบัติงานตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก | ปฎิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก |
การรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี | จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่ จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก | จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก |
จะเห็นว่า CPA (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต) เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานในขอบเขตที่กว้างกว่า TA (ผู้สอบบัญชีภาษีอากร) ซึ่ง CPA ยังมีแยกปฏิบัติงานธรุกิจเฉพาะเช่น ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ , ผู้สอบบัญชีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ , ผู้สอบบัญชีบริษัทบริหารสินทรัพย์